ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะ
ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะ[เป็นระบบการจ่ายไฟฟ้าแก่ทางรถไฟประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยสายลวดตัวนำเปลือย แขวนไว้กับลูกถ้วยฉนวนซึ่งยึดตรึงที่เสา กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านขารับกระแสไฟฟ้าเหนือศีรษะที่เรียกว่า แหนบรับไฟ เข้าสู่ระบบขับเคลื่อนขบวนรถ เพื่อให้ครบวงจรไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านรางรถไฟหรือราวเหล็กเส้นที่สี่ซึ่งต่อสายดินไว้ ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะมักต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าแรงสูง เพื่อลดการสูญเสียจากการส่งไฟฟ้าเป็นระยะทางไกล ๆ
ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะ มีชื่อเรียกอื่นดังนี้
ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะ มีชื่อเรียกอื่นดังนี้
- ระบบจ่ายไฟฟ้าชนิดสัมผัสเหนือศีรษะ (Overhead contact system; OCS)
- อุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะ (Overhead line equipment; OLE หรือ OHLE)
- อุปกรณ์เหนือศีรษะ (Overhead equipment; OHE)
- สายส่งเหนือศีรษะ (Overhead wiring; OHW หรือ overhead lines; OHL)
- แหนบรับไฟ (pantograph)
- ล้อเข็นรับไฟ (trolley wire)
หลักการทำงาน
พลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้รถไฟด้วยวิธีเหนือศีรษะ จะจ่ายผ่านสาลี่ซึ่งเป็นคันเหล็กยันกับสายไฟฟ้าเปลือย ซึ่งสาลี่อาจเป็นแบบพับได้ (สาลี่พับ; pantograph) แบบบ่วงกลม (สาลี่บ่วง; bow collector) หรือแม้แต่เป็นลูกรอกติดปลายเหล็ก (สาลี่ติดรอก; trolley pole) ขบวนรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า จะยกสาลี่ขึ้นติดสายเพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าสู่ระบบขับเคลื่อน จากนั้นจึงจะไหลลงรางกลับไปยังสถานีจ่ายไฟ หรือลงดินต่อไป การจ่ายไฟฟ้าด้วยวิธีเหนือศีรษะมีข้อดีคือ บำรุงทางได้ง่ายโดยไม่ต้องพะวงกับการไปเหยียบกับราวจ่ายไฟฟ้าที่พื้น แต่มีข้อเสียคือเป็นตัวจำกัดความสูงของขบวนรถ นอกเหนือจากอุโมงค์ ทั้งนี้ทางรถไฟที่ติดตั้งระบบจ่ายไฟฟ้าไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตามสามารถให้รถจักรดีเซลและรถดีเซลรางทำขบวนผ่านได้โดยไม่มีผลใด ๆ ต่อระบบจ่ายไฟ
โครงสร้างทางรถไฟ
| |
---|---|
ทางรถไฟ | |
การสับราง | |
ชุมทางรถไฟ | |
สถานีรถไฟ | |
การไต่เขา | |
เทคนิคทางราง |
ระบบการจ่ายไฟฟ้าแก่ทางรถไฟ
หัวรถจักรไฟฟ้าในสวีเดนที่ใช้กระแสไฟฟ้าจากสายไฟระบบเหนือหัว ระบบการจ่ายไฟฟ้าแก่ทางรถไฟ หรือ (Railway Electrification System) เป็นการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับรถไฟหรือรถราง เพื่อให้สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าบนขบวน การจ่ายกระแสไฟฟ้ามีข้อดีเหนือกว่าระบบให้พลังงานอื่น ๆ ในการขับเคลื่อนหัวรถจักร แต่ต้องใช้เงินลงทุนอย่างมีนัยสำคัญสำหรับการติดตั้ง ในบทความนี้ "ระบบ" หมายถึงการกำหนดค่าทางเทคนิคและรายละเอียดทางเทคนิคที่ถูกพัฒนาขึ้น "เครือข่าย" หมายถึงขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของระบบที่มีการติดตั้งจริงในสถานที่ติดตั้ง.
รางที่สาม
รางที่สามที่สถานีใกล้กรุงวอชิงตัน ดีซี มีแรงดันที่ 750V DC รางที่สามอยู่บนสุดของภาพมีกันสาดสีขาว สองรางล่างเป็นรางวิ่งทั่วไป กระแสจากรางที่สามวิ่งกลับสถานีจ่ายไฟด้วยรางวิ่งนี้ รางที่สาม เป็นรางตัวนำลักษณะกึ่งแข็งที่มีกระแสไฟฟ้าเพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับขบวนรถไฟอย่างต่อเนื่อง รางนี้จะถูกวางที่ด้านข้างหรือระหว่างรางวิ่งของรถไฟ โดยทั่วไปมันมักจะถูกใช้ในระบบขนส่งมวลชนหรือระบบรถไฟฟ้าขนส่งความเร็วสูง ส่วนใหญ่รางที่สามจะจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง ระบบรถไฟฟ้ามหานครกรุงเทพ ใช้ไฟ 750 VDC ระบบรางที่สามของการจ่ายไฟฟ้าโดยทั่วไปไม่มีความเกี่ยวข้องกับระบบรางที่สามที่ใช้ในการรถไฟ.
รางที่สี่
รางที่สี่ หรือ Fourth Rail เป็นรางตัวนำไฟฟ้าอีกรางหนึ่งที่ใช้ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการเดินรถระบบราง โดยเป็น return path ของรางที่สาม รางที่สี่นี้ปกติถูกวางไว้ระหว่างรางวิ่งทั้งสอง โดยทั่วไปของการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้การเดินรถระบบราง กระแสไหลกลับจะวิ่งผ่านทางรางวิ่งทั้งสอง.
แหนบรับไฟ
แหนบรับไฟแบบมีแขนลักษณะรูปเพชร ของทางรถไฟในสวิสเซอร์แลนด์ แหนบรับไฟ (Pantograph) หรือศัพท์เก่าคือ สาลี่ มีแปรงถ่านเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนหลังคาของตู้รถไฟ, รถราง หรือ ยานพาหนะไฟฟ้า ใช้รับไฟจากสายส่งกระแสไฟฟ้าเหนือหัว แหนบรับไฟถูกคิดค้นขึ้นในปี..
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น